ศิลปะการต่อสู้ กังฟู คืออะไร
ศิลปะการต่อสู้ กังฟู คืออะไร
ศิลปะการต่อสู้ “กังฟู” คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ประวัติศาสตร์กังฟูมีมานานกว่า 5000 ปีแล้ว กังฟู เป็น ศิลปะการต่อสู้ ที่ลึกลับมหัศจรรย์ ลีลากระบวนท่างามสง่าและมีเสน่ห์ชวนหลงใหล เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มาจากหลากหลายชนเผ่าและกระบวนท่าต่างๆที่มาจากสัตว์บางชนิด รวมทั้งหมอเทวดาฮัวโต๋ ปรมาจารย์ตั๊กม้อและต่อมาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ กังฟูสำนักเส้าหลิน
สำหรับในปัจจุบันนี้นั้น กังฟูในไทยส่วนมากเป็นพวกไทเก็ก รำพัด หรือไม่ก็ออกกำลังกายตอนเช้าสำหรับคนสูงอายุส่วนใหญ่กันเท่านั้น ส่วนเด็กๆหนุ่มสาวอย่างเราๆนั้นมีจำนวนน้อยมากที่จะใคร่ไปรำ หรือไม่ก็หาได้ยากมาก ซึ่งตัวเราทุกคนก็น่าจะทราบข้อนี้กันดี
ประวัติความเป็นมาของ ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟู ซึ่งมีรากฐานการบริหารร่างกายแบบโยคะที่ท่านโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตักม้อได้นำมาเผยแพร่ที่วัดเส้นหลิน ผสมผสานกับปรัชญาขงจื้อของจีน
กีฬาวูซู เป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และมีบทบาทสำคัญในทุกยุคสมัยที่มีการรบทัพจับศึกของประเทศจีนแต่โบราณกาล คำว่า วูซู แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ แต่ชาวจีนโพ้นทะเลที่นำวิชาวูซูไปเผยแพร่ในนามเรียกขานตามภาษาพื้นเมืองว่า กังฟู ประกอบกับประเทศจีนในยุคนั้นเป็นยุคปิดประเทศ ผู้คนทั่วไปจึงรู้จักวิชาวูซูภายใต้ชื่อเรียกขานว่า กังฟู ต่อมาเมื่อจีนเปิดประเทศ และได้ให้การพัฒนาวิชาวูซูเป็นกีฬา จึงได้ให้การเรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) นอกจากนี้ วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของ ทวีปเอเชียอีกด้วย
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลวิชาวูซู นับตั้งแต่ชาวจีนอพยพเข้าสู่ประเทศไทยแต่ครั้งโบราณ และมีการฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้แต่ปัจจุบัน ชาวไทยจะรู้จักวิชาวูซูแต่เพียงการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพเท่านั้น เนื้อหาสาระในทางลึกนั้น ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ เมื่อวิชาวูซูได้รับการพัฒนาเข้าสู่ระบบกีฬาแล้ว วิชาวูซูในทางลึกก็ค่อยกระจ่างขึ้น
ประโยชน์ของกังฟู
• เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย
ประกอบด้วยหลักการงอเหยียด การหมุนรอบเป็นวงจร มี หลักฝึกการทรงตัว
• ใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว
ผู้ที่ฝึกหัดไม่เพียงมีร่างกายและสุขภาพสมบรูณ์แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังได้เรียนรู้วิธีการต่อสู้ไปในตัว
• ให้หลักปรัชญาธรรม หลักจริยธรรม และปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม
ช่วยกล่อมเกลากิเลสของมนุษย์เพราะผู้ฝึกยุทธต้องเข้าถึงหลักการที่ผนวกเอากฏเกณท์ของวิชาต่อสู้ และหลักแห่งคุณธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยผลจากความพากเพียรในการฝึกยุทธ จะช่วยหล่อหลอมให้มีความกล้าหาญ มีความมานะอดทนอดกลั้น รู้จักฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ด้วยอุดมการณ์ ที่แน่วแน่
• เป็นศาสตร์ และศิลป์ ให้ความบันเทิงเริงรมย์
มีการแสดงออกในเชิงศิลป์ พลังความสามารถ คุณสมบัติเฉพาะตัวในกระบวนยุทธ ลีลา ทั้งให้ความรื่นรมย์ในการชมบทต่อสู้ ที่มีทั้งชั้นเชิงความกล้าความดุดัน ในการเข้าปะทะต่อสู้ ล้วนก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
กีฬาวูซู
กีฬาวูซูเป็นกีฬาศิลปะการต่อสู้ของชาวจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และมีบทบาทสำคัญในทุกยุคสมัยที่มีการรบทัพจับศึกของประเทศจีนแต่โบราณกาล คำว่า วูซู แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ ในภาษาของชาวพื้นเมือง วูซู เรียกว่า กังฟู ต่อมาเมื่อจีนเปิดประเทศ และได้ให้การพัฒนาวิชาวูซูเป็นกีฬา จึงได้ให้การเรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชีย
จากนั้นประเทศไทยได้นำวิชาวูซู เข้าสู่ประเทศมาตั้งแต่โบราณ และมีการฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้แต่ปัจจุบัน คนไทยรู้จัก วูซู เพียงแค่การรำมวยจีนเพื่อสุขภาพเท่านั้น
สมาคมวูซู ได้ตั้งขึ้นในประเทศไทยแห่งแรกเมื่อ พ.ศ.2521 โดยอาจารย์บลู ดิษยบุตร และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสมาคมกีฬาวูซูในปี พ.ศ. 2529 และในเวลาต่อมา และการกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้สนับสนุนอีกด้วย จากนั้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสมาคมสหพันธ์วูซูแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ 2534
กติกาวูซู
ประเภทยุทธลีลา 7 ชนิด คือ
- ยุทธลีลาสฉางฉวน (มวยยาวหรือมวยเหนือ)
- ยุทธลีลาหนาวฉวน (มวยใต้)
- ไท้จี๋ฉวน (มวยไทเก็ก)
- ยุทธลีลากระบี่
- ยุทธลีลาดาบ
- ยุทธลีลาไม้พลองยาว
- ยุทธลีลาทวน
การแข่งขันยุทธลีลา ใช้เวลาในการแสดงไม่ตำกว่า 1 นาที 20 วินาทีเกณฑ์การตัดสินทั้ง 7 ประเภท
เริ่มจากค่าคะแนน 10 คะแนนแบ่งเป็น 3 ส่วน
ท่าทางยุทธลีลา 6 คะแนน
การประสานพลังยุทธต่อเนื่อง 2 คะแนน
คุณสมบัติที่มี 6 ประการ 2 คะแนน
การแข่งขันประลองยุทธ เป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว ปัจจุบันจึงมีเฉพาะแต่ในประเภทชายเท่านั้น มีทั้งประเภททีมและบุคคล เวลาชก ยกละ 2 นาที พัก 1 นาที กำหนดคู่ละ 3 ยก ถ้าชนะกัน 2 ยกก็ถือว่าชนะเลย แต่ถ้าชนะกันคนละยกก็ต้องชกยกที่ 3 เพื่อตัดสิน แบ่งตามรุ่นน้ำหนักมีรุ่น 52 – 56 – 60 – 65 – 70 – 75 – 80 – 85 – 90 และ 90 กก.ขึ้นไปนักกีฬาคนหนึ่งเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ในเวลาต่างกัน)
การได้และเสียคะแนน
- ฝ่ายใดตกเวที 1 ครั้ง คู่ต่อสู้จะได้ 3 คะแนน
- เตะคู่ต่อสู้ถูกลำตัว 1 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
- เตะหน้าขาคู่ต่อสู้ 1 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
- ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกเตือน อีกฝ่ายจะได้ 1 คะแนน
- ถ้าเหวี่ยงล้มทั้งคู่ ฝ่ายล้มทีหลังจะได้ 1 คะแนน
การต่อสู้ที่ได้คะแนนตามจุดของร่างกายคือ จุดที่ลำตัว หัว แขนและขา จุดที่ผิดกติกาคือ จู่โจมท้ายทอย ท้องน้อย คอหอย ผ่าหมาก หัวชน ศอก เข่า จู่โจมศีรษะแบบต่อเนื่อง (ซ้ำ) จับหักข้อต่อ ทำให้คู่ต่อสู้ล้มหัวฟาดพื้นจู่โจมซ้ำเมื่อคู่ต่อสู้ล้มลง เข้ากวดคู่ต่อสู้อย่างเดียวไม่ต่อสู้
ศิลปะแห่งความบันเทิงอันดับ 1 ของโลก
เรื่องราวความนิยมไปทั่วโลก และทำให้ชาวตะวันตกรู้จักศาสตร์การต่อสู้แบบจีน เริ่มต้นขึ้นอย่างชัดเจนมากที่สุดเห็นจะเป็นช่วงยุค 70s ยุคนั้นต้องขอบใจอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของฮ่องกงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก พวกเขาสร้างภาพยนตร์ออกมาหลายต่อหลายเรื่อง และส่วนใหญ่เป็นหนังบู๊ที่เข้าใจง่ายที่สุด ดูได้ทุกเพศทุกวัย พระเอกใช้ศิลปะการต่อสู้ปราบเหล่าร้ายเพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ เส้นเรื่องที่เดาตอนจบได้ง่าย แต่ความมันที่แท้จริงเกิดจากการต่อสู้ระหว่างทาง ซึ่งแน่นอนว่าหนังฮ่องกงนั้นชูเรื่อง “กังฟู” มาเป็นอันดับ 1
เดิมทีหนังฮ่องกงนั้น เน้นเอาวรรณกรรมของ โกวเล้ง และ กิมย้ง มาดัดแปลง อาทิ มังกรหยก หลาย ๆ ภาคที่เขย่าวงการหนัง สร้างความนิยมให้กับชาวจีนที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ รวมถึงแผ่นดินอเมริกาเป็นอย่างมาก ความนิยมทั้งหมดเริ่มจากตรงนั้น จากจอมยุทธ์ มาถึงยุคที่ต้องสร้างหนังบู๊ร่วมสมัย เมื่อนั้นหนังที่นำแสดงโดย บรูซ ลี ก็เริ่มถูกสร้างขึ้น
บรูซ ลี ถือเป็นลูกเสี้ยวฮ่องกง-ยุโรป (เชื้อสายยุโรปมาจากทางคุณแม่) แต่ได้สัญชาติอเมริกันเพราะเกิดที่สหรัฐอเมริกา ตัวของ บรูซ ลี นั้นมีพื้นฐานการเป็นกังฟู เพราะได้ร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้อย่าง หย่งชุน จากอาจารย์ของเขาที่ชื่อว่า ยิปมัน … ดังนั้นหนังที่ บรูซ ลี แสดง ต้องใช้กังฟูเป็นศิลปะการต่อสู้ดำเนินเรื่อง และหนังที่ได้รับความนิยมที่สุดของเขามีชื่อเรื่องว่า “The Big Boss” หรือมีชื่อไทยว่า “ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง” และชื่อในอเมริกาว่า “Fists of Fury”