มลิกา กันทอง
มลิกา กันทอง
มลิกา กันทอง ประวัติ วอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย ตำแหน่ง UNIVERSAL เจ้าของฉายา ตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญของทีมชาติไทย
สำหรับคนทั่วไปที่ชมการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล อาจคิดว่า ผู้เล่นโดดเด่นและมีฝีมือ น่าจะเป็นนักตบที่มีลีลาเร้าใจ แต่แท้จริงแล้วการแข่งขันวอลเลย์บอล ซึ่งถือเป็นกีฬาประเภททีม หากผู้เล่นแต่ละคนขาดทักษะที่ดี หรือไม่เล่นเป็นทีมเวิร์ก การก้าวไปสู่ความสำเร็จคงเป็นเรื่องยากลำบากมากเลยทีเดียว
ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำผู้เล่นอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนทีมที่จะขาดไม่ได้ นั่นคือ นักตบสาวจากเมืองอ่างทอง ที่ถูกขนานนามว่า เป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญของทีมชาติไทย ทั้งนี้ เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตำแหน่ง UNIVERSAL ที่เรียกกันว่า ผู้เล่นอเนกประสงค์ ที่สามารถตีลูกได้ทั้งหัวเสาซ้ายขวา บอลโค้งหน้า บอลกลาง และบอลเสิร์ฟ
สำหรับประวัติ มีชื่อเล่นว่า ปู เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 จบการศึกษาปริญญาตรี จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ส่วนเส้นทางสู่วงการวอลเลย์บอลนั้น มลิกาได้รู้จักกีฬาวอลเลย์บอลครั้งแรก เมื่อตอนอายุ 12 ปี ขณะกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.6
จากนั้นในช่วงมัธยม มลิกาได้รับการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลจาก 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี และโรงเรียนอุลิตไพบูลย์ จ.ชัยนาท จนทำให้ฝีมือเริ่มพัฒนามากขึ้น และขณะที่เรียนอยู่ชั้น ม.4 ก็ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนยุวชนทีมชาติไทย เพื่อลงแข่งชิงแชมป์อาเซียนกับชิงแชมป์เอเชีย
ในเวลาต่อมา มลิกาได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรัตบัณฑิต ควบคู่ไปกับการเก็บตัวซ้อมในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทย เพื่อเตรียมไปแข่งขันเอเชียนเกมส์ โดยได้รับเลือกเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง UNIVERSAL ซึ่งสามารถโชว์ลีลาการเล่นได้หลากหลาย
แม้ลูกตบของมลิกาจะไม่ดุดันและรุนแรงเท่าตัวตบหัวเสาคนอื่น ๆ แต่เพราะทิศทางการวางบอลที่คาดเดาได้ยาก ทั้งการเสิร์ฟบอล ตบบอลเร็ว การขึ้นบล็อก และแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ จนทำให้ทีมชาติไทยสามารถคว้าคะแนนจากทีมคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่อง พิสูจน์ได้จากทักษะและไหวพริบในแมตช์ล่าสุด การแข่งขันวอลเลย์บอลศึกเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2013 ที่มลิกาโชว์ฟอร์มได้เป็นอย่างดีเยี่ยม จนสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ หรือ “ไอวีบี” ได้จัดสถิติให้ มลิกา เป็นตัวตบยอดเยี่ยมอันดับที่ 13 ของรายการ
จากความสามารถในการขับเคลื่อนการเล่มของทีมชาติไทย ให้ไหลลื่นไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มลิกาได้รับฉายาว่า ตัวเปลี่ยนเกม ซึ่งตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เส้นทางนักกีฬาอาชีพ ฝีไม้ลายมือของมลิกาก็ไปเข้าตาสโมสรต่างประเทศหลายแห่ง จนปัจจุบันได้สังกัดสโมสรชื่อดัง อิกติซาดชิ บากู วีซี ของประเทศอาเซอร์ไบจาน นั่นเอง
ประวัติ มลิกา กันทอง
ชื่อ-นามสกุล :
ชื่อเล่น : ปู
วันเกิด : 8 มกราคม 2530
ภูมิลำเนา : จ.อ่างทอง
การศึกษา
มัธยมศึกษา : โรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี และโรงเรียนอุสิตไพบูลย์ชินูปถัมภ์
อุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC)
ตำแหน่ง : ยูนิเวอร์แซล (UNIVERSAL )
ผลงานที่ผ่านมา
ปี 2550 ได้เหรียญทองจากการแข่งขันซีเกมส์
ปี 2550 ได้เหรียญทองจากการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย
ปี 2551 ได้เหรียญทองแดงจากการแข่งขันรายการเอเชียนคัพ
อันดับในการแข่งขันเวิลด์กรังด์ปรีซ์
ปี 2549 : อันดับ 10
ปี 2550 : ไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากติดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ณ กรุงเทพมหานคร
ปี 2551 : อันดับ 11
ปี 2552 : อันดับ 8
ปี 2553 : อันดับ 10
ปี2554 : อันดับ 6
ปี 2555 : อันดับ 4
รางวัลที่ได้รับ :
พ.ศ. 2552 รางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยม ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง เวิลด์ แกรนด์ แชมเปี้ยน คัพ ที่ฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2553 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์
การเล่นอาชีพในสโมสรต่างประเทศ
– สโมสรคอนย่า เอเรคลี ประเทศตุรกี
– สโมสรแทงฮัวห์ ประเทศเวียดนาม
– สโมสรฟูเจี้ยน ประเทศจีน
– สโมสรอิกติซาดชิ บากู วีซี ประเทศอาเซอร์ไบจาน
เมื่อประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “FIVB” ได้เผยแพร่เรื่องราวของ “สตาร์ดังทีมชาติไทย” จำนวนทั้งหมด 5 คน ผ่านทาง ทางเว็บไซต์ทางการของ สหพันธ์ฯ (www.fivb.com) ซึ่งเป็นการพูดถึงที่มาที่ไปของ “ทีมตบสาวไทย” ว่าแต่ละคนไปยังไงมายังไงจึงเดินมาอยู่ตรงจุดนี้ รวมทั้งยังเป็นการชื่นชมผลงานของ “ทีมลูกยางสาวไทย” ที่สามารถก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแนวหน้าของโลกได้สำเร็จ
โดยรายชื่อของนักกีฬาทั้ง 5 คน ที่ถูกพูดถึงในหัวข้อ “Thailand’s Fab Five” ประกอบด้วย “หัวเสาตัวเก่ง” อรอุมา สิทธิรักษ์ และ วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์, “บอลสั้นประสบการณ์สูง” ปลื้มจิตร ถินขาว, “มือเซตอัจฉริยะ” นุศรา ต้อมคำ และอีกคนที่ขาดไม่ได้ คือ มลิกา กันทอง เจ้าของตำแหน่ง “บีหลัง” คนสำคัญของ “ทีมตบสาวไทย”
- กว่าจะเป็น อรอุมา สิทธิรักษ์ มือตบค่าเหนื่อยสิบล้าน
- 7 เซียน วรรณา บัวแก้ว ตัวรับอิสระอันดับ 1 ของเมืองไทย
- ตำนาน 7 เซียน : อำพร หญ้าผา เจ้าแม่ไหลหลัง
- “วอลเลย์บอล” ชีวิตที่เลือกไม่ผิด ปลื้มจิตร์ ถินขาว
“ลูกสาวชาวนา” กับความฝันที่จะเป็น “หัวหน้าครอบครัว”
ตามที่จั่วหัวมาเลย! ครอบครัวของ มลิกา ประกอบอาชีพเกษตรกร (ชาวนา) อยู่ที่จังหวัดอ่างทอง โดยทางบ้านมีฐานะไม่ค่อยดีนัก และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ มลิกา ตัดสินใจเดินเข้าสู่ “เส้นทางสายลูกยาง” ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ เจ้าตัว ต้องการเรียนฟรีให้จบระดับปริญญาตรี(เป็นอย่างน้อย) เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว และอยากจะมีหน้าที่การงานที่มั่นคงในวันข้างหน้าเพื่อหาเงินมาดูแลพ่อแม่ต่อไปในฐานะ “หัวหน้าครอบครัว”
“ความฝันเล็กๆ” ที่คิดเอาไว้ตลอดตั้งแต่เด็ก ส่งผลให้ มลิกา ก้มหน้าก้มตาฝึกซ้อมอย่างจริงจังทุกวันๆ เริ่มต้นตั้งแต่ระดับประถม ไปจนถึงระดับมัธยม และ ต่อด้วยระดับมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าเป้าหมายที่ เจ้าตัว ต้องการมันเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่คิดไว้ “เรียนฟรี” จนถึงระดับมหาวิทยาลัย และมีโอกาสจะได้ทำงานที่มั่นคงตามฝัน แต่สิ่งที่พิเศษกว่านั้นคือ เจ้าตัว ได้รับโอกาส “ติดธง” รับใช้ทีมชาติไทย ซึ่งเป็นผลพลอยได้มาจาก “ความกตัญญู”
- ตัวแทน นุศรา : 5 ว่าที่เซตเตอร์เบอร์ 1 แห่งอนาคตวอลเลย์บอลสาวไทย
- 5 ตัวตบหัวเสา อนาคตวงการวอลเลย์บอลสาวไทย
- จับตามอง l 5 บอลเร็วความหวังใหม่ตัวแทน ปลิ้มจิตร์ ถินขาว
- บีหลังแห่งอนาคต – 5 ตัวแทน มลิกา กันทอง ที่ต้องจับตา
- หัวใจเกมรับ : 5 ลิเบอโร่ อนาคตลูกยางไทย
เล่นตรงไหนก็ได้ ขอแค่ยืนในสนาม
มลิกา ได้รับโอกาสลงสนามรับใช้ “ตบชุดใหญ่” อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต(เคยติดทีมชุดยุวชน ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม) โดยบทบาทที่ เจ้าตัว ได้รับคือตำแหน่ง “UNIVERSAL” หรือเรียกง่ายๆคือ “ผู้เล่นสารพัดประโยชน์” ซึ่งต้องขึ้นกับ “ทีมงานผู้ฝึกสอน” ว่าจะเลือกใช้งานในตำแหน่งไหน … หัวเสาก็ดี บีหลังก็ได้ หรือจะ บอลสั้นก็ไม่มีปัญหา