ปลากัดไทย “ปลาพื้นถิ่นของไทย” กีฬาพื้นบ้านกับวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต เป็นวิถีชีวิตชนบทของผู้คนในสังคมเกษตรกรรมที่คนส่วนใหญ่มักผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ละครอบครัวมีการเลี้ยงสัตว์ต่างๆเอาไว้โดยมีจุดประสงค์เพื่อเอาไว้ใช้งาน เอาไว้เป็นอาหาร และเอาไว้เป็นงานอดิเรก เช่น การเลี้ยงไก่ชน การเลี้ยงวัว ควาย และการเลี้ยง ปลากัดไทย เป็นต้น
เมื่อเสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านมักนำสัตว์ที่ตนเองเลี้ยงมาใช้ในกิจกรรมนอกเหนือจากที่เป็นอยู่ เช่น การกัดปลา การตีไก่ การแข่งวิ่งควาย และชนวัว เป็นต้น จนกลายเป็นประเพณีและขนบธรรมเนียมของสังคมในชนบทและมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นการพนันอีกด้วย
นานกว่า 200 ปีแล้วที่คนไทยรู้จักการเลี้ยงและนำปลากัดมาต่อสู้กัน เนื่องจากปลากัดมีลักษณะเด่นคือเป็นนักสู้ที่มีความทรหดอดทน มีสีสันที่สวยงาม จนกลายเป็นเกมส์กีฬาที่ได้รับความนิยมไม่แพ้การตีไก่
ตามตำนานการกัดปลาไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพวกมอญและพม่าเอากลองยาวมาเผยแพร่ให้คนไทย เพื่อใช้เล่นกันในช่วงเทศกาลงานประเพณีต่างๆ ส่วนคนไทยก็สอนการเล่นกัดปลาเป็นการตอบแทน ต่อมา พม่าก็ได้นำการเล่นกัดปลากลับไปยังประเทศ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันการแข่งขันกัดปลาได้เสื่อมความนิยมลงไปแล้ว ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่นิยมนำปลากัดมาเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่า
|
|
|
|
 |
|
(ภาพจากหนังสือชื่อ Twentieth Century Impression of Thailand ในปีค.ศ.1908
ซึ่งชาวต่างชาติสร้างฉากแสดงการกัดปลาของคนไทยและวาดภาพไว้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20)
|
|
สมญานามของปลากัดไทย
ในประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้ว่า ในราวปี พ.ศ.2383 หรือราวๆร้อยกว่าปีมาแล้ว พระมหากษัตริย์แห่ง
กรุงสยาม (รัชกาลที่ 4) ได้มอบปลากัดของพระองค์ให้กับชายไทยคนหนึ่ง และชายคนดังกล่าวได้นำปลากัดไปให้เพื่อนที่เป็นแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ นายแพทย์ทีโอดอร์ แคนเตอร์ (Dr.Theodor Canter) ซึ่งทำงานอยู่ที่สถาบันบริการทางการแพทย์ เบงกอล (The Bengal Medical Service) ในประเทศอินเดีย
|
|
|
|
 |
|
|
รัชกาลที่ 4
|
|
|
|
อีก 9 ปีต่อมานายแพทย์ทีโอดอร์ ได้พิมพ์เอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับปลากัดไทยชนิดดังกล่าวและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แมคโครโพดัส ปักแนกซ์ (Macropodus pugnax) ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ.2452 ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาชนิดนี้ได้เปลี่ยนไปเป็น เบตตา สเปลนเดนส์ (Betta splendens) โดยนายเท็ต ซี เรแกน (Mr. Tate C. Regan) เนื่องจากชื่อวิทยาศาสตร์ แมคโครโพดัส ปักแนกซ์ (M. pugnax ) มีผู้ตั้งชื่อไว้แล้วและเป็นปลากัดคนละสายพันธุ์กัน เบตตา สเปลนเดนส์ (B. splendens) มีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish คำว่า Betta มาจากคำว่า Bettah หมายถึงชนชาติของผู้เป็นนักรบ ส่วนคำว่า splendens มาจากคำว่า splendid หมายถึงความสวยงาม
ดังนั้นชื่อวิทยาศาสตร์ Betta splendens จึงหมายถึง นักรบหรือนักสู้ที่สวยงามและมีสง่า นั่นเอง
|
|
และท่านสามารถ ติดตามข้อมูล ข่าวสาร ต่าง ๆ ทั่วมุมโลก ข่าวสด รวดเร็วกว่า อีกทั้ง ข่าวฟุตบอล ตารางการแข่งขัน ผลบอล และการ วิเคราะห์บอล // ทีเด็ดบอล ไฮไลบอล แทงบอล แทงบอลออนไลน์ และยังมี บาคาร่า รูเล็ต และเกมอีกมากมาย เว็บนี้การันตีน้ำดี และง่ายต่อสมัคร คลิกเลย ได้ที่ ufabet