ทำความรู้จักับกีฬาฮอกกี้
ทำความรู้จักับกีฬาฮอกกี้
ฮอกกี้ : Hockey
ฮอกกี้เป็นกีฬาเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่ไม่ปรากฏหลักีฬากฐานที่แน่ชัดว่ากีฬาประเภทนี้เริ่มมาจากประเทศใดก่อน มีหลักฐานภาพวาดอียิปต์โบราณเก่าแก่ 4000 ปีที่มีลักษณะคล้าย กีฬา ฮอกกี้ และอีกหลักฐานประมาณ 44 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พบหลักฐานโดยชาวกรีกโรมัน สมัยโบราณได้เล่นกีฬานี้กันอยู่แล้ว อุปกรณ์การเล่นและวิธีเล่นคล้ายคลึงกับการเล่นฮอกกี้ในสมัยปัจจุบัน แต่แตกต่างกันที่ไม้ตีฮอกกี้สมัยกรีกและโรมันจะสั้นกว่าในปัจจุบัน ลูกบอลสมัยนั้นทำด้วยหนัง ภายในอัดด้วยขนสัตว์
ฮอกกี้เป็นเกมที่สนามหญ้าเรียบ และสนามต้องเป็นพื้นหญ้าที่แข็ง ซึ่งมีผู้เล่นฝ่ายละ11 คน โดยการใช้ไม้งอๆ คล้ายกับตะขอตีบอลไปยังประตูฝ่ายตรงข้าม ฮอกกี้สนามมีความแตกต่างไปจากฮอกกี้น้ำแข็ง กล่าวคือ เป็นเกมที่เล่นด้วยไม้ซึ่งชาวเปอร์เซีย โบราณได้เป็นผู้คิดค้นขึ้น ต่อมาชาวกรีกได้นำมาเล่นในกรุงโรม ซึ่งจะเห็นได้ที่เอเธนส์เหตุอันนี้เขาเชื่อแน่ว่าเกมที่ใช้ไม้ตีมาจากตะวันออกซึ่งนายเทมิส โตเคิล (Themistocle) ได้สร้างขึ้นเป็นภาพนูนบนฝาผนังเมื่อปี 515 – 449 B.C. ซึ่งเขาได้บรรยายไว้เป็นภาพเยาวชน 6 คน ร่วมในการเล่นเกมที่มีลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับการเล่นบูลลี่ ของการเล่นฮอกกี้ในปัจจุบันมาก แต่ต่างกันตรงที่ว่าส่วนงอของปลายไม้ของเขาได้ชี้ลงพื้นแทนที่จะชี้ขึ้นข้างบน อันเป็นเหตุผลที่แสดงถึงการเริ่มต้นของกีฬากลางแจ้ง แต่ก็ยังเป็นที่สงสัยการเริ่มแบบเกมส์ที่ใช้ไม้ตี นาย Aztec Indian ได้พบหลักฐานที่แสดงว่าชนชาติ American Indian ได้เล่นเกมนี้มาหลายพันปีแล้ว แต่ทั้งสองเหตุผลก็ยังเชื่อไม่ได้ การเล่นเกมนี้ในลอนดอนซึ่ง Mr. William Fetzstefhen ได้กล่าวไว้ซึ่งมีเหตุผลคล้ายคลึงกันหลายอย่างซึ่งเขาเขียนไว้ในปี 1175
ประมาณ ปี 1875 เกมที่คล้ายกับฮอกกี้สมัยใหม่ได้เริ่มเล่นในประเทศอังกฤษ กีฬาฮอกกี้ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอังกฤษ ช่วงแรกได้เข้าสู่โรงเรียนประถม และเริ่มมีการเปิดคลับแรกในปี พ.ศ. 2392 ที่ Blackheath ใน south-east ลอนดอน และมีประชาชนสนใจอย่างจริงจังในศตวรรษที่ 19 ในขณะนั้นเขตยิงประตูมีระยะ 15 หลาซึ่งเป็นส่วนที่ใกล้ประตูที่สุดแต่ผู้เล่นก็ไม่ต้องเป็นกังวลที่จะตั้งรับคู่ต่อสู้นอกครึ่งวงกลม สโมสรที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้นก็คือ Wimbledon club เมื่อปี 1883 สมาชิกของเขาได้ใช้เชือกพันไม้แอช (Ash) ให้กลมเป็นลูกบอล
ต่อมาก็มีสมาคม หรือ สโมสรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ในเขตลอนดอน เกมนี้จึงได้ขยายไปครึ่งเมืองตะวันตก และทางเหนือของประเทศอังกฤษ ในอังกฤษประมาณปี 1885 ได้จัดให้มีการแข่งขันประเภทหญิงขึ้น ระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์ นับแต่นั้นมาก็ได้จัดวันสำคัญของสมาคมฮอกกี้ คือเมื่อวันที่ 18 มกราคม 1886 เป็นวันตั้งก่อตั้งสมาคมฮอกกี้ขึ้นและก็ได้นำกฎเกี่ยวกับเขตยิงประตู (Striking Circle) มาใช้ เมื่อปี 1895 การแข่งขันระดับชาติเป็นครั้งแรกก็ได้จัดขึ้นระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์ ผลอังกฤษชนะ 5 – 0 ต่อมาประมาณปี 1900 ได้มีการร่างกฎกติกาการแข่งขันเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการฮอกกี้นานาชาติ ซึ่งเป็นตัวแทนจาก ไอร์แลนด์ เวลส์และอังกฤษฝ่ายละ 2 คน ร่วมกับตัวแทนของสมาคมจำนวน 3 คน กรรมการชุดนี้ชื่อว่า คณะกรรมการฮอกกี้นานาชาติ (International Hockey Broard) และเกมนี้ก็ได้แผ่ขยายออกมีสมาชิกเพิ่มขึ้นคือ สก๊อตแลนด์ ในปี 1902 และขยายตัวออกอย่างรวดเร็วตลอด British Isles จนกระทั่งมีสโมสรทั้งหมดประมาณ 100 แห่ง รวมทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งก็มีบัตรประจำทีมของเขา ในปี 1901 กีฬาฮอกกี้ได้แพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสุภาพสตรีชาวอังกฤษผู้หนึ่งคือ Constance Applebee โดยได้ให้คำแนะนำในการเล่นระหว่างปิดภาคฤดูร้อนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และหลังจากนั้นมาฮอกกี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่สุภาพสตรีเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี 1922 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งสมาคมขึ้นโดยใช้ชื่อว่าสมาคมฮอกกี้แห่งสหรัฐอเมริกา และได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นจนถึงระดับชาติ แต่นิยมเล่นเฉพาะในหมู่สตรีเท่านั้น ในเวลาต่อมากีฬาประเภทนี้จึงได้บรรจุไว้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แต่มีการแข่งขันเฉพาะชายเท่านั้นในปี 1932 ได้มีการก่อตั้งสมาพันธ์กีฬาฮอกกี้หญิงระหว่างประเทศขึ้น และได้จัดให้มีการแข่งขันทุกๆ 3 ปี โดยสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมีชาติต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขัน รวม 26 ชาติและสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งสมาคมฮอกกี้ชายขึ้น
ในเวลาต่อมาเพื่อเตรียมส่งเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิคการแผ่ขยายของเกมฮอกกี้ไปทั่วโลกถึงแม้ว่าเกมนี้จะมีสมาคมไม่มากเหมือนฟุตบอล ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศต่างๆ ซึ่งแพร่ขยายทั่วโลก สมาคมระหว่างประเทศเหล่านั้นก็ยังเหลืออยู่ในอังกฤษอีกมาก และในสหรัฐฯ ก็ได้เข้ามาเป็นสหพันธ์ฮอกกี้ระหว่างชาติด้วยเมื่อปี 1908 ฮอกกี้ได้เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิก ที่จักรภพอังกฤษหลังจากที่เงียบหายไปหลายปีก็ได้กลับมาอีกครั้งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนในปี 1948 การจัดการแข่งขันนั้นก็ได้ถือเป็นคณะกรรมการกลางระหว่างชาติซึ่งสหพันธ์ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและข้อบังคับตลอดไปประเทศผู้นำในกีฬาประเภทนี้ประมาณกลาง ศตวรรษ ที่ 20 คือ อินเดีย เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมนี ปากีสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน และสมาชิกของประเทศแอฟริกา อย่างไรก็ตามกีฬาประเภทนี้ก็ได้พัฒนาได้อย่างรวดเร็วในซีกโลกตะวันตก มาตรฐานการเงินมั่นคงขึ้นและการแข่งขันระหว่างชาติก็มีมากขึ้น พร้อมกับ Cricket ฮอกกี้เป็นกีฬาประจำชาติของอินเดีย ซึ่งได้เข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกและได้เป็นแชมป์ตลอดมาจนกระทั่งปี 1960 ซึ่งปากีสถานได้เป็นแชมป์ ซึ่งผู้สื่อข่าวกีฬาก็ได้บันทึกไว้ ที่ลอสแองเจลิส แคลิฟอเนีย การออกเสียงกันว่าการเล่นแบบอินเดียเป็นการเล่นลูกสั้นซึ่งถือเป็นแบบฉบับได้ แต่การเล่นของยุโรปมีทางโน้มเอียงไปทางลูกยาวตีลูกแรง นอกนั้นผู้เล่นของอินเดียและปากีสถานใช้ไม้ตีชนิดหัวสั้นซึ่งไม้นี้จะจับด้วยมือซ้ายเป็นการบังคับไม้ เพื่อพลิกหน้าไม้ได้สะดวกซึ่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมือจับ ดังนั้น การเล่นโทรนบอลก็ทำได้ดีขึ้น การใช้ไม้ชนิดหัวยาวจะตีดิน และไม่สะดวกกับการกลับหน้าไม้ ผู้เล่นชาวยุโรปก็เปลี่ยนมาเป็นไม้สั้น และสหรัฐฯ ก็เปลี่ยนวิธีการเล่นตามแบบฉบับอินเดีย แม้ว่าจะใช้เทคนิคแบบยุโรปก็ตาม
ประวัติฮอกกี้ในประเทศไทย
อาจกล่าวได้ว่าการเล่นฮอกกี้เป็นกีฬาพื้นเมืองที่เล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่นๆ โดยมีอุปกรณ์การเล่น และวิธีเล่นคล้ายกับการเล่นฮอกกี้มาก ซึ่งเรียกการเล่นชนิดนี้ว่า คลี เป็นกีฬาพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กีฬาประเภทนี้มีอุปกรณ์คือ ไม้ตีที่ทำด้วยโคนไม้ไผ่ หรือไม้งอๆ คล้ายกับไม้ตีฮอกกี้ในสมัยปัจจุบัน แต่ลูกคลีของไทยมีสองชนิดคือ ทำด้วยไม้กลึงให้กลมคล้ายลูกฮอกกี้ และทำด้วยกิ่งไม้ทองหลาง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ลูกคลีชนิดที่ทำด้วยไม้กลึงให้กลมมีไว้เพื่อใช้เล่นในเวลากลางวัน
ส่วนชนิดที่ทำด้วยกิ่งไม้ทองหลางแห้ง มีไว้เพื่อเล่นในเวลากลางคืน เรียกว่า คลีไฟ เพราะว่าหัวของไม้ทองหลางทั้งสองข้างจุดไฟได้ เพื่อให้มองเห็นได้ถนัดว่าลูกคลีอยู่ที่ใด การเล่นจะเล่นกันตามคันนาหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บอกว่าการเล่นคลีนั้นสนุกสนานและตื่นเต้นมาก
กติกาของการแข่งขัน
1) เวลาของการแข่งขัน
1.1 การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ครึ่งละๆละ 35 นาที
1.2 พักครึ่งเวลา 5-10 นาที ตามแต่จะตกลงกัน แล้วเปลี่ยนแดนในเวลาครึ่งหลัง
1.3 แต่ละครึ่งเวลาจะเริ่มทำการแข่งขันโดยผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่งลูกจากจุดกลางสนาม
มารยาทในการเล่น
1. ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
2. ควรแสดงน้ำใจที่เป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี เช่น การจับมือทักทายปราศรัยซึ่งกันและกัน ทั้งก่อนและหลังเล่น
3. เคารพและเชื่อฟังกรรมการผู้ตัดสินและกรรมการเจ้าหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4. เคารพและเชื่อฟังทั้งหัวหน้าทีม และครู – อาจารย์ผู้ควบคุมอยู่เสมอ
5. มีความสุภาพเรียบร้อยไม่แสดงกิริยาอาการเย่อหยิ่ง จองหอง โอ้อวดต่อผู้อื่น
6. รู้จักควบคุมอารมณ์และสติได้ดี ไม่แสดงกิริยาอาการโมโหฉุนเฉียว
7. ควรเล่นด้วยชั้นเชิงที่เหมาะสมกับการเล่น ไม่ควรกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบผู้อื่นในทางที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเกิดการผิดพลาด ต้องกล่าวคำขอโทษ และให้อภัยซึ่งกันและกัน
8. เมื่อชนะไม่ควรแสดงความดีใจจนเกินไป และเมื่อแพ้ก็ไม่ควรเสียใจจนออกนอกหน้า ต้องมีใจคอหนักแน่น และอดทน
9. แต่งกายด้วยชุดกีฬาที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
10.รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเล่นได้ดี ถูกต้อง เหมาะสม
11.รู้จักประมาณกำลัง และความสามารถของตนเอง
12.จะต้องเรียนรู้ระเบียบข้อบังคับ และกฎกติกาการเล่นอย่างดี
13.ควรฝึกทักษะพื้นฐานให้มีความชำนาญเป็พิเศษ เพื่อช่วยในการเล่นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การได้ประตู
– การได้ประตู เกิดขึ้นเมื่อบอลได้ผ่านเส้นประตูไปหมดทั้งลูกระหว่างเสาประตูภายใต้คาน โดยผู้เล่นฝ่ายรุกเล่นบอลในเขตยิงประตู
และลูกบอลต้องไม่ออกไปนอกเขตยิ่งประตูก่อนที่ลูกบอลผ่านข้ามเส้นประตู
– ลูกบอลจะต้องถูกเล่นหรือสัมผัสไม้ หรือร่างกายของฝ่ายรับก่อนหรือหลังการเล่นของฝ่ายรุกในเขตยิงประตู
– หลังจากหยุดการเล่นในเขตยิงประตู ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องเล่นลูกในเขตยิงประตูอีกครั้งก่อนจึงถือว่าได้ประตู
– เมื่อผู้รักษาประตูเสียการยิงลูกโทษ ณ จุดโทษ
– ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าคือ ผู้ชนะ