ซีฟาน ฮัสซาน :การวิ่ง คือกีฬาที่ต้องแข่งกับคนอื่นยังไม่พอ ยังต้องแข่งกับจิตใจของตัวเองด้วย ในวันที่คุณล้มลงระหว่างแข่ง ขณะเหลือระยะอีกแค่ 400 เมตร และเห็นคู่แข่งวิ่งนำหน้าคุณ 11 คนอยู่ไกลๆ คุณจะถอดใจหรือไม่? นี่คือเรื่องราวของ ซีฟาน ฮัสซาน นักวิ่งเจ้าของ 2 เหรียญทอง, 1 เหรียญทองแดง ในศึกโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ตัวแทนทีมชาติเนเธอร์แลนด์รายนี้ พลิกนรกคว้าเหรียญทองมาได้อย่างไร?
ดินแดนนักวิ่งระยะไกล
นักวิ่งแถบแอฟริกาตะวันออกคือสุดยอดและเป็นผู้ชนะทางสายเลือด พวกเขาแข็งแกร่งตั้งแต่ดีเอ็นเอ พันธุกรรม และความเป็นอยู่ ราวกับเกิดมาเพื่อวิ่งระยะไกล นั่นเป็นสาเหตุที่ทำไมไม่ว่าจะการแข่งขันวิ่งระยะไกลรายการไหนๆ กลุ่มชาวแอฟริกัน โดยเฉพาะชาว เอธิโอเปีย และ เคนยา มักจะกลายเป็นที่ 1 เสมอ
สำหรับ เอธิโอเปีย นั้น พวกเขามีพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า “วิหารที่สูงที่สุดแห่งโลกนักวิ่ง” อยู่ในเมือง Meskel ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 2,300 เมตร ที่นี่เป็นศูนย์รวมการสร้างนักวิ่งของประเทศเอธิโอเปีย และได้สร้างนักวิ่งระยะไกลในตำนานอย่าง อเบเบ บิกิลา ที่เคยคว้าเหรียญทองโอลิมปิกด้วยการวิ่งเท้าเปล่ามาแล้ว เหรียญทองของ อเบเบ สร้างวัฒนธรรมการวิ่งให้ชัดเจนมากขึ้น ชาวเอธิโอเปียเริ่มผูกพันกับการวิ่งระยะไกลตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากเรื่องของวัฒนธรรมแล้ว ชาวเอธิโอเปียยังถือว่ามีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะกับการวิ่งระยะไกล พวกเขามีพลังปอดและกล้ามเนื้อในระดับที่สมดุลกันเป็นอย่างมาก สามารถวิ่งได้ในระยะไกลๆ โดยที่เกิดความอ่อนล้าน้อยกว่าและเหนื่อยน้อยกว่าคนจากประเทศอื่นๆ ซึ่งเรื่องดังกล่าว พล.ต.ต.ศุภวณัฎฐ์ อาริยะมงคล หัวหน้าผู้ฝึกสอนกรีฑาทีมชาติไทย เคยพูดกับทีมงาน Main Stand เอาไว้ว่า
“เมื่อดูจากสรีระของนักกรีฑาระดับแนวหน้าของโลกเนี่ย เราจะเห็นว่านักกีฬาจากภูมิภาคแคริบเบียน อย่าง จาเมกา หรือแม้แต่นักกีฬาเชื้อสายแอฟริกันโดยทั่วไป พวกเขาจะมีมัดกล้ามเนื้อที่เยอะ แต่ประชากรของประเทศอย่าง เคนยา หรือ เอธิโอเปีย แล้วพวกเขาจะมีมัดกล้ามเนื้อที่น้อยกว่า”
“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพอีกนิด คุณลองดูสัตว์นักล่าอย่างเสือดาว เสือชีตาห์ พวกนี้กล้ามเนื้อจะใหญ่ แข็งแรง สามารถวิ่งได้เร็ว แต่ไม่สามารถวิ่งด้วยความเร็วนั้นเป็นระยะเวลานานๆได้ ต่างจากพวกสัตว์ผู้ถูกล่าอย่าง ละมั่ง กวาง พวกนี้วิ่งเร็วสู้สัตว์นักล่าไม่ได้ แต่สามารถวิ่งด้วยความเร็วนั้นได้นานกว่า”
“ด้วยความแตกต่างที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่า เหตุใดนักวิ่งจากฝั่งแคริบเบียน อย่าง ยูเซน โบลต์ ของจาเมกา ถึงเป็นเจ้าแห่งการวิ่งระยะสั้น ขณะที่นักวิ่งจากฟากแอฟริกาตะวันออกกลับทำได้ดีมากๆในการวิ่งระยะไกล นั่นก็เพราะว่าคนในแต่ละภูมิภาคของโลกมีลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อบางสิ่งมากกว่า อย่างไรก็ตาม ก็มีเหมือนกันที่นักกีฬาซึ่งดูจะมีความเสียเปรียบทางกายภาพกลับสามารถทำผลงานได้ดี เพียงแต่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นไม่บ่อยนักแค่นั้นเอง” หัวหน้าผู้ฝึกสอนกรีฑาทีมชาติไทย ผู้ได้ฉายาว่า “แฝดเล็ก” ว่าไว้เช่นนี้
แม้จะมีสรีระทางกายภาพที่ได้เปรียบและวัฒนธรรมการวิ่งที่เอธิโอเปียนั้นเข้มข้นระดับฝังอยู่ในเส้นเลือด อย่างไรก็ตาม ประเทศนี้ก็มักจะมีเหตุที่ทำให้นักวิ่งในประเทศประสบปัญหาจนไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้มากเท่าที่ควร นั่นคือปัญหาเรื่องการปฏิวัติในประเทศ สงครามกลางเมือง และสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ โซมาเลีย
ทั้งหมดนี้ทำให้ในช่วงยุค 1980s เอธิโอเปียเผชิญกับวิกฤตความอดอยากและขาดแคลนอาหาร โดยในช่วงปี 1983-1985 มีชาวเอธิโอเปียต้องเสียชีวิตกว่า 1 ล้านคน ปัญหาดังกล่าวต่อเนื่องสะสมมาทำให้หลายคนต้องอพยพออกจากประเทศบ้านเกิด ลี้ภัยไปยังประเทศต่างๆที่เจริญกว่าและมีโอกาสในชีวิตมากกว่า
กลุ่มผู้อพยพชาวเอธิโอเปียออกเดินทางไปตายดาบหน้า พวกเขาอาจจะไม่มีความรู้ ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านโลกยุคใหม่เหมือนกับคนท้องถิ่น แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่พวกเขายังมีติดตัวนั่นคือดีเอ็นเอของความเป็นนักวิ่งระยะไกลและวัฒนธรรมการวิ่งที่ติดฝังอยู่มาหลายชั่วอายุคน พวกเขานำสิ่งเหล่านั้นติดตัวไปด้วยเสมอ
ต่อให้จะมีการปฏิวัติ เปลี่ยนระบอบการปกครอง หรือเหตุการณ์อะไรก็ตาม เมื่อวันใหม่เริ่มขึ้น นักวิ่งในประเทศจะออกมาวิ่งอีกครั้งเพื่อความฝันสู่ชีวิตที่ดีของพวกเขา
นักเขียนจากสื่ออังกฤษอย่าง The Guardian เคยนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการวิ่งระยะไกลของชาวเอธิโอเปียว่า “เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น Meskel Square จะเป็นของนักวิ่งเสมอ”
ซึ่งในความจริงไม่ใช่แค่ที่ Meskel Square เท่านั้น ไม่ว่าชาวเอธิโอเปียจะไปที่ไหนก็ตาม พวกเขาสามารถใช้การวิ่งเป็นใบเบิกทางสำหรับชีวิตใหม่ของพวกเขาได้ เช่นเดียวกับ ซีฟาน ฮัสซาน นักวิ่งระยะไกลที่คว้ารางวัลเหรียญทองในโอลิมปิก โตเกียว 2020 ในฐานะตัวแทนทีมชาติเนเธอร์แลนด์
ซีฟาน ฮัสซาน จากเอธิโอเปียสู่เนเธอร์แลนด์
ซีฟาน ฮัสซาน ออกจากเอธิโอเปียสู่เนเธอร์แลนด์ ตอนอายุ 15 ปี หรือราวๆปี 2008 ช่วงเวลานั้นเกิดเหตุหลายอย่างในประเทศ ทั้งการปะทะกันของรัฐบาลและประชาชนในประเทศเนื่องจากปัญหาปากท้อง การไล่เบี้ยเคลียร์ทางกันในสภาสำหรับขั้วอำนาจทางการเมืองแต่ละฝ่าย การโกงการเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอต้องออกมาจากประเทศเพื่อหาโอกาสใหม่ในชีวิต
“ฉันมีชีวิตที่ดีมากจนกระทั่งทุกอย่างเปลี่ยนไปตอนอายุ 14 ปี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มันผ่านไปแล้ว ฉันจะไม่พูดถึงเรื่องการเมือง และเหตุผลที่ฉันละทิ้งบ้านเกิดมา” เธอเปิดเผยผ่านสื่อหลังจากมีชื่อเสียง
แม้จะไม่บอกเหตุผลที่แน่ชัด แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือการอพยพไม่ได้การันตีว่าเธอจะมีความสุขแบบพลิกจากหลังมือเป็นหน้ามือทันที เพราะตอนแรกที่เธอย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงเยาวชนที่เมืองซูดลาเรน (Zuidlaren) เจ้าตัวเผยว่าเหมือนนรกบนดิน
“ที่นั่นฉันร้องไห้ทุกวัน ฉันโดนขังให้อยู่ในนั้นเหมือนกับอยู่ในคุก” เธอเล่าไว้เพียงเท่านี้ถึงอดีตที่ไม่อยากจดจำ
การเปลี่ยนแปลงมาเกิดขึ้นเมื่อเธอพยายามขอย้ายที่อยู่ โดยไปอาศัยอยู่กับอดีตผู้ลี้ภัยชาวเอธิโอเปียที่มีบ้านอยู่ในเนเธอร์แลนด์ การทำเรื่องย้ายถิ่นฐานต้องใช้เวลาพอสมควร แต่เธอก็ทำสำเร็จ ช่วงที่เธอออกมาอยู่ในบ้านเพื่อนผู้ลี้ภัย เธอได้เข้าฝึกอาชีพเป็นผู้ช่วยพยาบาล ก่อนจะได้รับสัญชาติดัตช์ในปี 2013
แต่ที่สุดแล้ว ความเป็นชาวเอธิโอเปียก็ยังคงอยู่ เธอเชื่อว่าการวิ่งที่เป็นเหมือนพลังภายในของเธอต่างหากที่เป็นคำตอบสำหรับอนาคตที่แท้จริง เธอได้ปรึกษากับโฮสต์ของเธอ ก่อนที่จะได้เข้าร่วมชมรมกรีฑาท้องถิ่นของเมืองลีวาร์เดน (Leeuwarden) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิ่งอาชีพของเธออย่างแท้จริง
ความได้เปรียบทางพันธุกรรมและความมุ่งมั่นที่จะสร้างจุดเปลี่ยนให้กับชีวิตคือขุมพลังครั้งสำคัญที่เปลี่ยนให้ ฮัสซาน พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เธอไต่เต้าจากทีมระดับท้องถิ่นก้าวขึ้นมาเป็นตัวทีมชาติ ก่อนที่จะได้ไปแข่งขันในศึกชิงแชมป์โลกระยะ 1,500 เมตร ในปี 2015 ซึ่งครั้งนั้นเธอได้ที่ 3 ก่อนจะเข้าไปแข่งรอบสุดท้ายในโอลิมปิกที่่ ริโอ เดอ จาเนโร ในปีต่อมา ด้วยการจบในอันดับที่ 5
เธอรู้ดีว่าเธอจะต้องเก่งและเร็วกว่านี้ เธอพยายามถีบตัวเองอีกหนด้วยการเข้าร่วมทีมวิ่งที่ดีที่สุดทีมหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่าง Nike Oregon Project ทว่าปี 2019 เธอเจอปัญหาครั้งใหญ่ เมื่อ อัลแบร์โต้ ซาลาซาร์ โค้ชของเธอและ Nike Oregon Project ถูกแบนตลอดชีวิตหลังถูกตัดสินให้มีความผิดโทษฐานให้นักกีฬาใช้สารกระตุ้น แม้เรื่องนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่ ฮัสซาน จะเข้าทีม แต่เธอก็จำเป็นต้องหาโค้ชคนใหม่ และถูกตรวจสารกระตุ้นแบบเข้มข้น
ถึงกระนั้น ฮัสซาน ในเวอร์ชั่นที่ฝึกฝนที่อเมริกา เร็วขึ้นกว่าเดิมอีกเป็นกอง เธอใช้เวลาในปี 2019 ปีเดียวกวาดแชมป์โลกหญิงในระยะ 1,500 เมตร และ 10,000 เมตร ในการแข่งขันที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
ฮัสซาน เล่าว่า การเป็นแชมป์โลกมันยังไม่ใช่จุดสูงสุดที่เธอคาดหวังไว้ เธออยากไปให้ไกลกว่านั้นเพื่อพิสูจน์ตัวเองให้โลกรู้ ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอตัดสินใจรอจนการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มาถึง เธอได้ประกาศก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้นไม่กี่วันว่า “ฉันจะลงชิงเหรียญทองทั้งหมด 3 รุ่น” และตั้งเป้าหมายว่าเธอจะเป็นผู้ชนะทั้งหมดด้วย
ฝันที่เกินตัวนี้ถูกเปิดหัว และเส้นทางแห่งชัยชนะก็เร้าใจจนกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการแข่งขันโอลิมปิกเพราะเหตุนี้
และท่านสามารถ ติดตามข้อมูล ข่าวสาร ต่าง ๆ ทั่วมุมโลก ข่าวสด รวดเร็วกว่า อีกทั้ง ข่าวฟุตบอล ตารางการแข่งขัน
ผลบอล และการ วิเคราะห์บอล // ทีเด็ดบอล ไฮไลบอล แทงบอล แทงบอลออนไลน์ และยังมี บาคาร่า รูเล็ต UFABET