คิงคาซู ในวัย 55 ปี “เขาบอกว่าเขาจะเล่นฟุตบอลจนตาย เขาบอกว่าเขาอยากตายในสนามฟุตบอล” คัลวิน จอง อาปิน
อดีตเพื่อนร่วมทีมพูดถึง ” คิงคาซู ” คาซูโยชิ มิอูระ เขาคือนักเตะระดับตำนานของญี่ปุ่น ที่ลงเล่นมาตั้งแต่ฤดูกาลแรก
ของเจลีก เป็นนักเตะญี่ปุ่นคนแรกที่ได้ค้าแข้งในอิตาลี และที่สำคัญ ในปัจจุบันเขาก็ยังเล่นอยู่ จนเป็นเจ้าของสถิตินักเตะอาชีพ
ที่อายุมากที่สุดในโลกด้วยวัย 55 ปี
ที่ผ่านมา การรักษาความฟิต มักจะเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงในฐานะเคล็ดลับที่ทำให้เสือเฒ่ารายนี้สามารถค้าแข้งได้อย่างยาวนาน ทว่ามันอาจจะไม่ใช่แค่นั้น เมื่อปัจจัยภายนอกอย่าง “สังคมและวัฒนธรรม” ของญี่ปุ่นก็มีส่วนไม่น้อย
ติดตามเรื่องราวไปพร้อมกับ Main Stand
เสือเฒ่าแห่งฟุตบอลญี่ปุ่น คิงคาซู
“แมวเก้าชีวิต” อาจจะเป็นฉายาที่น้อยเกินไปสำหรับ “คิงคาซู” คาซูโยชิ มิอูระ เมื่อชีวิตของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมามากกว่านั้น
มิอูระ เดินทางไปเล่นฟุตบอลที่บราซิลตั้งแต่ยังไม่จบมัธยมปลาย และกลับมาค้าแข้งในเจลีกในช่วงเริ่มต้น แถมยังทำผลงานได้อย่างโดดเด่นพา เวอร์ดี คาวาซากิ (โตเกียว เวอร์ดี ปัจจุบัน) คว้าแชมป์ได้อย่างมากมาย
เขา ยังเป็นเจ้าของสถิตินักเตะชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้เล่นในลีกอิตาลี หลังได้ไปโชว์ฝีเท้ากับเจนัว ทีมระดับเซเรียอา ในฤดูกาล 1994-1995 และเป็นดาวยิงตัวเก่งของทีมชาติญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1990s
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ไม่น่าเชื่อคือ ปัจจุบัน คิงคาซู ยังคงสวมสตั๊ดลงเตะฟุตบอลกับนักเตะรุ่นหลานในลีกอาชีพ ภายใต้ต้นสังกัด โยโกฮามา เอฟซี (และถูก ซูซูกะ พอยต์ เก็ตเตอร์ส ยืมตัวไปใช้งานในฤดูกาล 2022) ที่ทำให้เขากลายเป็นนักเตะอาชีพที่มีอายุมากที่สุดในโลกด้วยวัย 55 ปี
นอกจากนี้ เขายังเป็นเจ้าของสถิตินักเตะอายุมากที่สุดในโลกที่ยิงประตูได้ในเกมลีก จากการรับรองของกินเนสส์บุ๊ก หลังยิงประตูชัยให้ โยโกฮามา เอฟซี เฉือนชนะ ซาซูปะ คุซัตสึ กุมมะ ในเกมเจ 2 ลีก ด้วยวัย 50 ปีกับ 14 วัน เมื่อปี 2017
หลายคนพยายามถาม มิอูระ ว่า เพราะเหตุใดเขาจึงสามารถยืนระยะในลีกอาชีพได้อย่างยาวนานขนาดนี้? และเคล็ดลับของเขานั้นง่ายมาก ง่ายจนหลายคนอาจคิดไม่ถึง
“มันไม่ได้เป็นความลับอะไร แค่กินดีอาหารดีๆ พักผ่อนให้เพียงพอ มีแพชชั่น ทุ่มเท และสิ่งนี้.. หัวใจ” คาซู กล่าวกับ The Athletic
คาซู ใช้หัวใจขับเคลื่อนชีวิตของเขามาโดยตลอด ตั้งแต่การไปเล่นที่บราซิลตอนวัยรุ่นด้วยตัวคนเดียว หรือการต้องเอาชนะอคติเรื่องเชื้อชาติสมัยที่ไปเล่นในอิตาลี และสิ่งนี้ก็ทำให้เขายังคงเล่นฟุตบอลอยู่ในตอนนี้ ต่างจากเพื่อนร่วมรุ่นที่หลายคนกลายเป็นโค้ชหรือไปทำอาชีพอื่นกันหมดแล้ว
“เพราะว่าเขารักฟุตบอล” อิบบา ลายาบ อดีตกองหน้าของ โยโกฮามา เอฟซี กล่าวกับ The Athletic เมื่อปี 2019
“ผมเคยถามเขานะว่า -คุณไม่อยากไปทะเลบ้างเหรอ? คุณอายุ 52 แล้ว ไม่อยากพักผ่อนสบายๆที่ฮาวายบ้างเหรอ?- แต่เขาแค่รักในฟุตบอล เขาบอกผมว่า -ผมไม่อยากไปที่ไหนแล้วล่ะ- เขาคงจะคิดถึงมันมากเกินไป”
ขณะเดียวกัน คิงคาซู ยังขึ้นชื่อเรื่องความเป็นมืออาชีพ เขามีวินัยกับตัวเองอย่างเข้มงวด ตื่นนอนตอนตี 5 เพื่อกินอาหารที่ดูแลโดยนักโภชนาการ แช่ตัวในอ่างน้ำแข็งหลังซ้อมเสร็จ ตรวจน้ำหนักและไขมันทุกวัน และไปซ้อมเพื่อรักษาความฟิตที่เกาะกวมกับเทรนเนอร์ส่วนตัวทุกครั้งในช่วงปิดฤดูกาล
“เขาเป็นคนที่มาถึงก่อนเวลาซ้อม 2 ชั่วโมง เขามาก่อนทุกคน และเกือบทุกครั้งที่เป็นคนสุดท้ายที่กลับบ้าน แน่นอนว่าร่างกายของเขาช้าลงไปกว่าเดิม แต่เทคนิค การสัมผัสบอล ทั้งหมดยังคงดีอยู่” ลายาบ กล่าวต่อ
“เขายังคงฟิตจริงๆ เขามีความกระหาย เขาเป็นคนที่เจ๋ง แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ความรักที่มีต่อเกมที่ทำให้เขาทำมันได้ ผมหมายความว่าเขารักในเกมการแข่งขันจริงๆ เวลาคนอื่นไปพักร้อน ผมรู้ว่าเขาจะอยู่สักที่ในญี่ปุ่นเพื่อซ้อมรักษาความฟิต”
อย่างไรก็ดี มันอาจจะไม่ได้มีแค่นั้น..
สังคมแบบลำดับชั้น
แม้ว่าระบบชนชั้นของญี่ปุ่นจะสลายไปตั้งแต่สิ้นสมัยเอโดะ (1603-1868) แต่การแบ่งลำดับชั้นทางสังคม ยังคงฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมของพวกเขา และสิ่งที่สะท้อนเรื่องนี้ออกมาได้อย่างชัดเจนก็คือ ภาษา
ในภาษาญี่ปุ่นจะมีการแบ่งอย่างชัดเจนว่า คำแบบนี้สามารถใช้กับใครและห้ามใช้กับใคร มันจึงทำให้รูปแบบของภาษาแตกต่างกันไปตามคู่สนทนา
“ในภาษาศาสตร์สังคม เราสามารถสังเกตได้ว่า ภาษาสะท้อนและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมได้อย่างไร?” บ็อบ เมบลีย์ ผู้บรรยายการแข่งขันฟุตบอลที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมานานกว่า 16 ปีกล่าวกับ Optus Sport
“ตัวอย่างที่ดีที่ทำให้เห็นว่าภาษาญี่ปุ่นส่งผลต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างไร คือระดับของภาษาที่มีวิธีการพูดหลายแบบ มันไม่ใช่แค่การพูด ‘would you like’ แทน ‘do you want’ หรือใส่คำว่า ‘please’ และ ‘thank you’ เข้าไป แต่เป็นรูปแบบของคำกริยา”
“คำกริยาทุกคำสามารถเปลี่ยนหรือถูกเปลี่ยนให้แสดงออกมาในรูปแบบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับคนที่พูดอยู่และคนที่พูดด้วย แต่ไม่ว่าจะแบบไหน มันจะมีความอาวุโสเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ากับผู้ให้บริการ หัวหน้ากับลูกน้อง ผู้ใหญ่กับเด็ก ครูกับนักเรียน เซมไปกับโคไฮ (รุ่นพี่-รุ่นน้อง)”
“มันแสดงให้เห็นทันทีเมื่อเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น หรือเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศนี้ ว่ามันมีการจัดระบบตามลำดับชั้นมากแค่ไหน
มันไม่ใช่แค่ความสุภาพ หรือการเคารพ แต่เป็นการจัดระบบตามลำดับชั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม”
และ คิงคาซู ก็ได้ประโยชน์อย่างมากจากระบบนี้ เพราะแม้ว่าการรักษาความฟิตจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาค้าแข้งมาได้อย่างยาวนาน แต่วัฒนธรรมการให้ความเคารพผู้อาวุโสของญี่ปุ่นก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เขายังคงรักษาสถานะการเป็นนักเตะอาชีพได้
“เขาได้รับประโยชน์จากความจริงที่ว่าสังคมญี่ปุ่นเป็น สังคมแบบลำดับชั้น สังคมที่ให้ความเคารพผู้อาวุโส เพราะว่ามันมีสิ่งพิเศษบางอย่างในวัฒนธรรรมญี่ปุ่นที่ช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้ชีวิตนักฟุตบอลอาชีพของเขายืนยาว” เมบลีย์ อธิบายต่อ
มิอูระ เป็นนักเตะที่หลายคนให้ความเคารพ เพราะเขาคือพี่ใหญ่ของวงการ ที่รุ่นน้องให้ความเกรงใจ สิ่งนี้คือวัฒนธรรมร่วมของชาวเอเชียรวมถึงไทยที่ถูกสอนให้นอบน้อมต่อคนที่มีอายุมากกว่า ต่างจากตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับความสามารถก่อนอายุ
“ที่อังกฤษ นักเตะจะถูกตัดสินจากสิ่งที่เขาทำได้ในปัจจุบัน ในทางตรงกันข้าม การให้ ความเคารพนักเตะจากความ
สำเร็จในอดีตของญี่ปุ่น มันเป็นปัจจัยที่ใหญ่มาก แม้ว่า นักเตะเหล่านั้นจะผ่านจุดพีคไปนานแล้วก็ตาม” ฌอน แคร์โรล ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นบอกกับ Optus Sport
“สิ่งนี้เกี่ยวพันอย่างมากกับความสัมพันธ์แบบเซมไป/โคไฮ (รุ่นพี่/รุ่นน้อง) ซึ่งอยู่ในทุกพื้นที่ ของสังคม
และสมมติฐานโดยนัยที่บอกว่า ‘การมีประสบการณ์ที่มากกว่า’ ส่วนใหญ่จะเท่ากับ ‘ดีกว่า'”
แต่อันที่จริง สำหรับ คิงคาซู ประสบการณ์ของเขาก็ควรค่าแก่การเคารพ
พระเจ้าเจลีก
“เขา (มิอูระ) ถูกมองว่าเป็นตำนานที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แม้ว่าหลายคนจะมองว่าการต่อสัญญากับเขาทุกปีจะเป็นเรื่องที่บิดเบี้ยว แต่เขาถูกมองว่ายังคงเป็นดาวเด่นของเจลีกโดยพฤตินัย และได้รับการนับถือจากทุกคนในฐานะแบบอย่างของความสำเร็จที่มาจากการทำงานหนัก” แคร์โรล กล่าวกับ Optus Sport
และท่านสามารถ ติดตามข้อมูล ข่าวสาร ต่าง ๆ ทั่วมุมโลก ข่าวสด รวดเร็วกว่า อีกทั้ง ข่าวฟุตบอล ตารางการแข่งขัน
ผลบอล และการ วิเคราะห์บอล // ทีเด็ดบอล ไฮไลบอล แทงบอล แทงบอลออนไลน์ และยังมี บาคาร่า รูเล็ต ufabet